ความสำคัญและพันธกิจ

ความสำคัญของประเด็นการการปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มบริษัทลดความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ และรักษาความมั่นคงของทรัพยากร ในฐานะบริษัทที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีความเกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์ธรรมชาติดินอาศัยของสัตว์ป่า และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ การดำเนินงานที่คำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพช่วยให้กลุ่มบริษัท ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รักษาทรัพยากรประยุกต์ และสอดคล้องกับกฎระเบียบด้านการอนุรักษ์ที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายประเทศ การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนจะสามารถป้องกันหรือบรรเทาความเสี่ยงทั้งในด้านกฎระเบียบและการดำเนินงาน ต้นน้ำไปสู่แหล่งน้ำ ซึ่งสนับสนุนเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero ของกลุ่มบริษัทฯ การบริหารจัดการด้านความหลากหลายชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพยังช่วยลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น การเสื่อมโทรมของดิน การขาดแคลนน้ำ และความขัดแย้งชุมชน

ในด้านการเงิน นักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีนโยบายความยั่งยืนและ ESG ที่ชัดเจน การดำเนินมาตรการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพช่วยให้ดึงดูดแหล่งเงินทุนสีเขียว และสร้างความเชื่อมั่นจากภาคธุรกิจและสังคม การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพจึงเป็นมากกว่าความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม แต่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รักษาทรัพยากรธรรมชาติและยกระดับประสิทธิภาพการจัดการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในความหลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมาย และผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

ดำเนินการสำรวจและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE Report) ก่อนเริ่มโครงการ – รับรองว่าโครงการทุกโครงการได้รับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันการทำลายระบบนิเวศ
รับรองว่าโครงการใหม่ทุกโครงการไม่มีการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ (No Net Loss of Biodiversity) – ดำเนินมาตรการชดเชยความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การฟื้นฟู ปรับปรุง หรือชดเชยพื้นที่ระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ
เพิ่มพื้นที่สีเขียวขึ้น 10% ภายในปี 2573 – ขยายโครงการปลูกต้นไม้ การพัฒนา และสนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่โครงการ เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่
นำแนวทางการใช้ต้นน้ำและทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนเข้าใช้ 100% ของพื้นที่ดำเนินโครงการ – รับรองว่าโครงการทั้งหมดมีการใช้แนวทาง การอนุรักษ์น้ำ การบริหารจัดการน้ำ และการฟื้นฟูระบบนิเวศทางธรรมชาติ
ส่งเสริมโครงการอนุรักษ์ที่เกิดในชุมชน – การนำชุมชนมีส่วนร่วมในโครงการอนุรักษ์ เช่น การฟื้นฟูป่าชุมชนหรือการสร้างอาชีพจากการอนุรักษ์ เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
/

ผลการดำเนินงาน 2567

  1. ประเมินความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ชนิดและความหนาแน่นของสิ่งมีชีวิตในโครงการทุกไตรมาส ผล 100%
  2. ผลการสํารวจต้นไม้และสัตว์ในโครงการ

ตารางนี้สามารถเลื่อนแนวนอนได้

การสำรวจสัตว์ของระบบนิเวศ SPN SS UPT Winchai
พื้นที่โครงการ (ไร่) 889 51 257 1,931.25
จังหวัดที่ตั้ง ลพบุรี ราชบุรี นครราชสีมา มุกดาหาร
จำนวนพบในโครงการปี 2567 (ตัว) 335 - 470 - - -
จำนวนที่เปลี่ยนแปลงจาก ฐานปี 2566 21% - - -

*กลุ่มบริษัทฯ เริ่มดำเนินการ โดยเริ่มจากการสำรวจชนิดสัตว์ในพื้นที่โครงการ เนื่องจากมีผลกับธุรกิจที่ดำเนินการมากที่สุด และจะดำเนินการในโรงงานอื่นๆ ต่อไป

แนวทางการบริหารจัดการ

แนวทางการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อให้สามารถปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพกลุ่มบริษัทฯ กำหนด นโยบายสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนรวมทั้ง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด มุ่งลดผลกระทบและสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม และ ปฏิบัติตามมาตรฐานระดับสากล เช่น GRI , TNFD ที่ใช้แนวทางการบรรเทาผลกระทบ (Mitigation Hierarchy) ที่ประกอบด้วยหลักเลี่ยง ลด ฟื้นฟู ชดเชย (Avoid, Minimize, Restore and Offset) ซึ่ง กลุ่มบริษัทฯ มีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

Mitigation Hierarchy

การหลีกเลี่ยง เป็นขั้นตอนแรกที่กลุ่มบริษัทฯ คำนึงถึง เพื่อลดผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การจัดทำการประเมินและรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE Re-port) อย่างละเอียดก่อนเริ่มโครงการ โดยปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งประเมินพื้นที่โครงการ พื้นที่อนุรักษ์ แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และแหล่งต้นกำเนิดธรรมชาติไว้ล่วงหน้า ซึ่งหากมีการดำเนินโครงการในพื้นที่ดังกล่าว บริษัทฯ มีการหลีกเลี่ยงการดำเนินงาน ไม่ดำเนินโครงการในบริเวณดังกล่าว และหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องมีเหตุผลสนับสนุนที่ชัดเจนว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และ ถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้โดยใช้แนวปฏิบัติตาม TNFD ที่เป็นกรอบแนวทางด้านความยั่งยืนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและการเปิดเผยข้อมูล

การลด เป็นขั้นตอนต่อมา เพื่อลดผลกระทบให้น้อยที่สุด เช่น การดำเนินงานต่างๆ ที่มีการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศหรือเสียงอื่น ๆ การออกแบบก่อสร้างอาคารโดยคำนึงสภาพดิน การคัดวัสดุก่อสร้างที่เหมาะสม ผลกระทบต่อชุมชน

การฟื้นฟู และการชดเชย สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ ดำเนินโค จําเป็นต้องฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้สู่สภาพดีกว่าเดิม เช่น การปลูกป่าทดแทน การฟื้นฟูแหล่งน้ำบนพื้นที่โครงการ หรือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวและดำเนินโครงการชดเชยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการขยายพื้นที่สีเขียวและแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ (Ecological Corridors) โดยเพิ่มการปลูกต้นไม้และ การสร้างแนวกันชนทางธรรมชาติรอบโรงงานและพื้นที่โครงการ และสนับสนุนโครงการปลูกป่าและกักเก็บคาร์บอน โดยลงทุนใน โครงการปลูกต้นไม้พื้นเมืองและการฟื้นฟูแหล่งกักเก็บคาร์บอน เพื่อชดเชยผลกระทบจากการใช้ที่ดิน

ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์ถิ่นอาศัย เริ่มต้น ตั้งแต่ การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยปรับการออกแบบแผงโซลาร์เซลล์และกังหันลม ให้เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบต่อเส้นทางอพยพของนก ลดการ ตัดไม้ทำลายป่าและป้องกันผลกระทบต่อสัตว์ป่า ในโครงการโรง ไฟฟ้าพลังงานชีวมวลใช้แนวทางป่าไม้และเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน โดยการจัดหาวัตถุดิบชีวมวลเป็นไปตามมาตรฐานป่าไม้ที่ยั่งยืน และมาจากแหล่งที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ดำเนินการเสริมสร้าง จิตสํานึก ความตระหนัก ด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลาย ทางชีวภาพ ให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง เช่น การสื่อสารผ่านช่อง ทางการสื่อสารภายในกลุ่มบริษัทฯ และการทํากิจกรรมร่วมกันของ พนักงานในโรงไฟฟ้าและชุมชนใกล้เคียง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

นโยบายสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ