ความสำคัญและพันธกิจ

ความสำคัญของประเด็นการจัดการของเสียและเศรษฐกิจหมุนเวียนต่อกลุ่มบริษัทฯ เพราะการจัดการของเสียและเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นหัวใจสำคัญของการกิจ เพื่อให้มั่นใจว่าทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปริมาณของเสีย และนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด กลุ่มบริษัทฯ มุ่งเน้นหลักลดการใช้ นำกลับมาใช้ซ้ำ และรีไซเคิล (Reduce, Reuse, Recycle) เพื่อส่งเสริมการใช้งานของวัสดุและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในด้านพลังงานชีวมวล ได้มุ่งส่งเสริมการใช้เศษวัสดุให้เกิดประโยชน์ เช่น การเปลี่ยนเถ้าชีวมวล (Biomass Ash) ให้เป็นดินสำหรับปรับปรุงดิน ที่เป็นปุ๋ยธรรมชาติทดแทน โครงการนำน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ในระบบดักจับเถ้าชีวมวล หรือการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการอื่นในโรงงาน เพื่อให้ลดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ การปรับกระบวนการผลิตด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในส่วนของเสีย แหล่งวัตถุดิบที่มีความบริสุทธิ์น้อย และโครงการโซลาร์ที่เน้นย้ำเรื่อง เรามุ่งมั่นที่จะมีวงจรการใช้ทรัพยากร (Close the Loop) ให้ครอบคลุมในทุกกระบวนการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้ดีขึ้น แต่ยังยั่งยืน ทั้งในเชิง ประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน และยังคงไว้ซึ่งคุณค่าร่วมต่อสังคม เพื่อให้พลังงานที่ยั่งยืนของเราเคียงคงความยั่งยืนอย่างแท้จริงสำหรับคนรุ่นต่อไป

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในการบริหารจัดการของเสีย

เป้าหมาย และผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

เพิ่มอัตราการรีไซเคิลโดยกระบวนการ 3R Reduce Reuse และ Recycle ให้ได้ ไม่น้อยกว่า 80% ของปริมาณของเสียทั้งหมด ภายในปี 2573
ลดของเสียทั่วไปในองค์กรลง 10% ภายในปี 2573 โดยประสานพลังให้พนักงานเพื่อรู้โดยทั่วกัน เพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงการบริหารจัดการของเสียหรือจะให้เกิดการคัดกรอง และลดของเสียที่ใช้ซ้ำระบบ Reuse เพิ่มขึ้นในองค์กร
มีการกำจัดของเสียอันตรายด้วยการฝังกลบให้เป็น 0 ภายในปี 2573 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนส่งของเสียอันตรายไปกำจัดหรือกำจัดของเสียอันตรายที่ได้รับอนุญาตตามที่กฎหมายกำหนด หรือได้รับใบอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
/

ผลการดำเนินงาน 2567

บริษัทฯ สร้างการตระหนักรู้ให้พนักงาน โดยการให้ความรู้ในการแยกขยะและประชาสัมพันธ์ภายใต้ชื่อ How to แยกขยะก่อนทิ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้ทุกคนได้ทราบถึงวิธีการทิ้งขยะหรือของเสียให้ถูกต้อง นอกจากนั้นยังมุ่งหวังจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

ตารางนี้สามารถเลื่อนแนวนอนได้

ของเสีย หน่วย SPN WWO SN UPT WINCHAI1 TGC TTQN SSE1 TTTV SEG1 รวม
ผลดำเนินงานจากเป้าหมายขององค์กร
ลดของเสียไม่อันตรายภายในองค์กรลง 10% ในปี 2573 % 100 79.5 N/A 22.03 N/A N/A 62.06 N/A 2.87 N/A 22.05
การกำจัดของเสียอันตรายด้วยการฝังกลบให้เป็น 0% ภายในปี 2573 % 98.95 0 N/A 0.2 N/A 100 100 N/A 100 N/A 2.76
เพิ่มอัตราการรีไซเคิลโดยกระบวนการ 3R, (Reduce Reuse และ Recycle) ให้ได้ ไม่น้อยกว่า 80% ของปริมาณของเสียทั้งหมด ภายในปี 2573 % 1.05 72.9 N/A 99.8 N/A 0 0 N/A 0 N/A 97.23
ของเสียที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด
ของเสียไม่อันตราย 2 ตัน 0 0.35 0 5,024.24 0 0.15 0.1 0 1.32 0 5,026.16
ของเสียอันตราย ตัน 132.8 0.13 0 8.41 0 0 0 0 0.04 0 141.38
การบริหารจัดการของเสียไม่อันตราย
การใช้ซ้ำ (Reuse) ตัน 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
การรีไซเคิล (Recycle) ตัน 0 0.35 0 5,022.82 0 0 0 0 0 0 5,023.17
การฝังกลบ ตัน 0 0 0 1.42 0.15 0.1 0 0 1.32 0 2.99
การกำจัดด้วยวิธีอื่น ตัน 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
การบริหารจัดการของเสียอันตราย
การรีไซเคิล (Recycle) ตัน 1.4 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1.4
การฝังกลบ ตัน 131.4 0 0 8.41 0 0 0 0 0.04 - 139.85
การกำจัดวิธีอื่น ตัน 0 0.13 0.35 0 0 0 0 0 0 0 0.13

หมายเหตุ : การส่งของเสียไปกำจัดเช่น แผงโซลาร์เซลล์ ที่ชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ ได้ว่าจ้างบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตและขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องในการจัดการของเสียอันตรายเป็นผู้ดำเนินการกำจัด

1 โครงการ Winchai, SSE, SEG ของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตและกระบวนการซ่อมบำรุงทั้งหมด ดำเนินการส่งกำจัดโดยผู้รับเหมา O&M บริษัทจึงไม่รวมข้อมูลนี้เข้ามาเพื่อป้องกันการนับซ้ำ

2 ของเสียไม่อันตราย ปี 2567 นี้สำหรับโครงการในประเทศไทยได้แก่ SPN, WVO, SN และ Winchai ยังไม่รวมข้อมูลของเสียที่เกิดจากการอุปโภคบริโภค หรือ Municipal solid waste เนื่องจากไม่มีการจัดเก็บข้อมูล

แนวทางการบริหารจัดการ

กลุ่มบริษัทฯ ดำเนินนโยบายการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมุ่งเน้นการลดของเสียที่แหล่งกำเนิด (Reduce), การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยมีนโยบายกำหนดกรอบการทำเนินงานปฏิบัติในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การแยกประเภทและจัดเก็บของเสียอย่างเหมาะสม การวิเคราะห์ดูเพื่อจัดกลับมาใช้ใหม่ การลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด การจัดการอย่างถูกต้องของของเสียอันตราย การเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานหรือผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าแทนการกำจัดแบบฝังกลบ โดยเฉพาะในกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีการนำของเสียกลับมาใช้ซ้ำ เช่น แผ่นกรองของเหลว และการนำของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ประโยชน์และได้รับการรับรองเป็นนวัตกรรมการกำจัดของเสียอย่างถูกต้อง

นอกจากนี้กลุ่มบริษัทฯ ยังดำเนินการตรวจสอบและติดตามปริมาณของเสียอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับปฏิบัติตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมระดับสากลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงาน ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และสามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

นโยบายการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร