ความสำคัญและพันธกิจ

บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดหลักจริยธรรม การดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบ และการรายงานข้อมูลอย่างโปร่งใส เพื่อสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือของกลุ่มบริษัทฯ ดึงดูดนักลงทุน และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการสนับสนุนที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการบริหารความเสี่ยงและป้องกันการทุจริตด้วยการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด และการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานสากลอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการด้วยจริยธรรมและความรับผิดชอบของกลุ่มบริษัทฯ จึงเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่น รักษาความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วน นอกจากนี้ ยังเป็นการตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals) SDG 16 ที่เน้นการส่งเสริมสังคมที่สงบสุข ครอบคลุมทุกกลุ่มคน การเข้าถึงความยุติธรรม และการสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจ

เป้าหมายและผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

พัฒนานโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีขึ้นซึ่งครอบคลุมโครงสร้าง บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท รวมถึงหลักการบริหารจัดการที่โปร่งใส
มั่นใจว่ากลุ่มบริษัทดำเนินงานอย่างเป็นธรรมเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ถือหุ้น
สร้างองค์กรที่ส่งเสริมความยั่งยืนและความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
สร้างความไว้วางใจและความยั่งยืนแก่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานจริยธรรมและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งจะรับประกันการเติบโตอย่างมั่นคงและการยอมรับในสังคม
บรรลุการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยมุ่งเน้นการสร้างงานที่มีคุณค่า ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และขจัดการทุจริต
มีวัฒนธรรมองค์กรที่โปร่งใสและยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
/

ผลการดำเนินงาน 2567

ในปี 2567 บริษัทไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนหรือข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริต และไม่มีการกระทำผิดเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายใน
SSP ส่งเสริมนโยบาย "No Gift Policy" เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส และความเป็นธรรม
บริษัทได้จัดตั้งช่องทางสำหรับการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส
บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบ
SSP มีจรรยาบรรณทางธุรกิจที่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานต้องปฏิบัติตาม
ในปี 2567 บริษัทไม่มีกรณีการละเมิดจรรยาบรรณทางธุรกิจ และไม่มีการกระทำใดที่เป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล

แนวทางการบริหารจัดการ

แนวทางการบริหารของบริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SSP มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งในการผนวกรวมความยั่งยืนและการกำกับดูแลกิจการที่ดีในทุกมิติของการดำเนินงาน บริษัทได้จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อพัฒนานโยบายและแนวทางการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม คณะกรรมการบริษัทปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้แก่ สิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ SSP ได้กำหนดจรรยาบรรณที่ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส การกำกับดูแลกิจการที่ดี และจริยธรรมทางสังคม เพื่อรับรองการปฏิบัติที่มีจริยธรรม บริษัทได้ดำเนินมาตรการป้องกันและจัดการกับการทุจริต เช่น นโยบายและวัฒนธรรมต้านการทุจริต แนวทางการรายงานและสอบสวน และการตรวจสอบธุรกรรมการชำระเงิน นอกจากนี้ บริษัทมีคณะกรรมการชุดย่อย เช่น คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหาร เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทคณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการ ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย และกำกับดูแลจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท สุดท้าย บริษัทได้จัดให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและเกณฑ์การประเมินคะแนนเป็นไปตามแนวทางของบริษัท

หลักการและนโยบายการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (Corporate Governance Code for listed companies 2017) ใน 8 หลักปฏิบัติ

01

หลักปฏิบัติ 1: ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน (Establish Clear Leadership Role and Responsibilities of the Board)

02

หลักปฏิบัติ 2: กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน (Define Objectives that Promote Sustainable Value Creation)

03

หลักปฏิบัติ 3: เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล (Strengthen Board Effectiveness)

04

หลักปฏิบัติ 4: สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคลากร (Ensure Effective CEO and People Management)

05

หลักปฏิบัติ 5: ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (Nurture Innovation and Responsible Business)

06

หลักปฏิบัติ 6: ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม (Strengthen Effective Risk Management and Internal Control)

07

หลักปฏิบัติ 7: รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล (Ensure Disclosure and Financial Integrity)

08

หลักปฏิบัติ 8: สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น (Ensure Engagement and Communication with Shareholders)

โครงสร้างของคณะกรรมการ

ในปี 2567 คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการจำนวนทั้งสิ้น 10 ท่าน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ประธานกรรมการ เป็นกรรมการอิสระ และไม่ทำหน้าที่กรรมการบริหาร หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  • มีจำนวนกรรมการที่เป็นผู้บริหาร 3 ท่าน และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 7 ท่าน คิดเป็นสัดส่วนของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารต่อกรรมการทั้งหมดร้อยละ 70
  • กรรมการอิสระจำนวน 5 ท่าน คิดเป็นสัดส่วนของกรรมการอิสระต่อกรรมการทั้งหมดร้อยละ 50
  • กรรมการหญิง 3 ท่าน และกรรมการชาย 7 ท่าน คิดเป็นสัดส่วนกรรมการหญิงต่อกรรมการชาย 3:7

โดยคณะกรรมการทุกท่านผ่านกระบวนการสรรหา โดยพิจารณาคุณสมบัติทางกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนได้กำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการในการสรรหาคณะกรรมการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้คณะกรรมการที่มีคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่หลากหลายตาม Board Skill Matrix มาปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

ทั้งนี้ คณะกรรมการของบริษัทเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพ ซึ่งเกี่ยวข้องและสนับสนุนธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ โดยมีคณะกรรมการชุดย่อยอีก 5 ชุด

  • คณะกรรมการตรวจสอบ
  • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
  • คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
  • คณะกรรมการบริหาร
  • คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ตารางนี้สามารถเลื่อนแนวนอนได้

ตารางความรู้ความชำนาญ (Board Skill Matrix)
ตารางความรู้ความชำนาญ (Board Skill Matrix)
รายชื่อ/ความรู้
ความชำนาญเฉพาะด้าน
เพศ
อายุ
กรรมการอิสระ
การจัดการอุตสาหกรรม
การตลาด
บัญชีและการเงิน
การบริหารจัดการ
กฎหมาย
การกำกับดูแลกิจการ
การบริหารจัดการความเสี่ยง
การบริหารทรัพยากรบุคคล
การตรวจสอบ
1. นายกำธร วังอุดม M 78
2. ศาสตราจารย์กิตติคุณ สำเรียง เมฆเกรียงไกร M 70
3. นายธนา บุบผาวาณิชย์ M 57
4. นางสาวธัณฐภรณ์ ไกรพิสิทธิ์กุล F 44
5. นายธนวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล M 40
6. นายวรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์ M 42
7. นางธัญนีย์ ไกรพิสิทธิ์กุล F 68
8. พลเอกไพรัช โพธิ์อุบล M 68
9. นายมนชัย พงศ์สถาบดี M 58
10. นางสาวลัลน์ลลิต ไมตรีวิทยานนท์ F 38
รวม 5 10 5 5 10 2 10 5 2 3

การประเมินตนเองของคณะกรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อย

เพื่อให้การกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance Code) คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานปีละ 1 ครั้ง โดยใช้แบบประเมินตนเอง (Self-Assessment Form) ซึ่งเป็นการประเมินทั้งแบบรายคณะและรายบุคคล

สรุปผลการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการ

  • การประเมินตนเองของกรรมการบริษัทรายคณะ และการประเมินรายบุคคล (การประเมินแบบไขว้)
  • การประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยแบบรายคณะ และการประเมินรายบุคคล (การประเมินแบบไขว้)

คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อยทั้ง 5 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร, คณะกรรมการตรวจสอบ, คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน, คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง, และคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผลการประเมินแบ่งตามหัวข้อ 3 หัวข้อ ได้แก่ โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ, การประชุมคณะกรรมการ, บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

สรุปผลการปฏิบัติงาน และผลการประเมินตนองของคณะกรรมการ

ตารางนี้สามารถเลื่อนแนวนอนได้

การประชุมคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จำนวนการประชุมในปี 2567** 7 1 4 2 2 1
สัดส่วนการเข้าประชุม 100%* 100% 100% 100% 100% 100%
คะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงาน (ร้อยละ) ทั้งคณะ 94% รายบุคคล 95% ทั้งคณะ 91% รายบุคคล 90% ทั้งคณะ 97% รายบุคคล 98% ทั้งคณะ 90% รายบุคคล 86% ทั้งคณะ 97% รายบุคคล 98% ทั้งคณะ 86% รายบุคคล 88%

*นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ดำรงตำแหน่งถึงเดือน มีนาคม 2567 นางสาวลัลน์ลลิต ไมตรีวิทยานนท์ ดำรงตำแหน่งเมื่อเดือน มีนาคม 2567 รายละเอียดข้อมูลผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองของคณะกรรมการปรากฏในแบบแสดงข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2567 (แบบ 56-1 One Report) หัวข้อ "รายงานผลการดำเนินงานสำคัญด้านการกำกับดูแลกิจการ

** การประชุมคณะกรรมการบริษัทจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกไตรมาส โดยเลขานุการบริษัทจะแจ้งกำหนดการประชุมให้คณะกรรมการบริษัททราบล่วงหน้าภายในไตรที่ 4 ของปีก่อนหน้า เพื่อให้กรรมการทุกท่านสามารถจัดสรรเวลาเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทในปีถัดไปได้ตลอดทั้งปี โดยจะส่งหนังสือเชิญประชุม เอกสารประกอบการประชุม และวาระการประชุมให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน อย่างไรก็ดีในปี 2567 ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริษัทโดยไม่มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม (การประชุมคณะกรรมการอิสระ) เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 การประชุมในครั้งนี้เปิดโอกาสให้กรรมการอิสระที่ไม่ใช่ผู้บริหารได้หารือ และร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เพื่อสรุปข้อเสนอแนะในการพัฒนาธุรกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจดำเนินการไปตามนโยบาย กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามหลักหลักการกากับดูแลกิจการที่ดี ประธานกรรมการซึ่งเป็นกรรมการอิสระมีหน้าที่แจ้งผลการประชุมให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารรับทราบ

การฝึกอบรมและพัฒนากรรมการ

กลุ่มบริษัทฯ มุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ ด้วยตระหนักว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความก้าวหน้าและความยั่งยืน โดยสนับสนุนให้กรรมการเข้าร่วมการอบรมและสัมมนาที่เป็นประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน

สำหรับกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ กลุ่มบริษัทฯ ได้วางระบบการสนับสนุนอย่างครบวงจร ทั้งการจัดเตรียมเอกสารข้อมูลที่จำเป็น การแนะนำภาพรวมธุรกิจ และแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานธุรกิจและวิสัยทัศน์องค์กรได้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ยังส่งเสริมวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร โดยสนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในปี 2567 มีกรรมการบริษัทเข้าร่วมการอบรมสัมมนาดังนี้

  1. นายวรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์ หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 34 จัดโดยสถาบันวิทยาการตลาดทุน วันที่จัด กรกฎาคม - ธันวาคม 2567
  2. นางสาวลัลน์ลลิต ไมตรีวิทยานนท์ หลักสูตรกรรมการเบื้องต้น Director Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 218/2024 จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย วันที่จัด 8 พฤษภาคม 2567
  3. นายธนา บุบผาวาณิชย์ หลักสูตร e-Learning CFO's Orientation for New IPOS ภาษาไทย ปี 2567 จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระยะเวลาในการอบรม 12 ชม.

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ขอบเขต อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ขอบเขต อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการบริหารความเสี่ยง
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายค่าตอบแทนคณะกรรมการ
นโยบายเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดี