ความสำคัญและพันธกิจ

ความสำคัญของประเด็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในด้านการบริหารจัดการน้ำ เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความยั่งยืน ประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

แม้ว่าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมจะใช้ในลักษณะของการผลิตไฟฟ้า แต่ยังคงต้องอาศัยน้ำในกระบวนการทำความสะอาด และการบริหารจัดการในขณะที่พลังงานชีวมวลต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมาก สำหรับระบบผลิตไบโอแก๊ส และการผลิตไอน้ำ ซึ่งทำให้การบริหารจัดการน้ำอย่างมีความรับผิดชอบเป็นสิ่งสำคัญเพื่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ปัญหาการขาดแคลนน้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยิ่งทำให้การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพหมายถึง การใช้น้ำในกระบวนการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดปริมาณการใช้น้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติให้น้อยลงที่สุด นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้มีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการทำงาน ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง และลดผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติโดยรอบ นอกจากนี้การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ยังสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการด้าน ESG ได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และถือเป็นการตอบสนองต่อประเด็นความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำ ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในอนาคต องค์กรที่สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมสามารถลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสามารถสร้างการยอมรับในระดับโลกได้ในระยะยาว

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในการบริหารจัดการน้ำ

เป้าหมาย และผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตลง 10% ภายในปี 2573 – ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำในกระบวนหล่อเย็น การผลิตไอน้ำ และกระบวนการทำความสะอาด
ส่งเสริมให้พนักงานร่วมรณรงค์ลดการใช้น้ำ 30% ภายในปี 2573 – กระตุ้นให้พนักงานเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้น้ำ เช่น การปิดก๊อกน้ำระหว่างการล้างมือหรือล้างจาน ผ่านการสื่อสารรอบรู้ด้านน้ำ
เพิ่มการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ 100% ภายในปี 2573 – ติดตั้งระบบรีไซเคิลน้ำในกระบวนการผลิตให้ครอบคลุมทุกโรงงาน และเพิ่มการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ที่โรงงาน UPT
บริหารจัดการน้ำและน้ำเสียจากทุกแหล่งอย่างมีประสิทธิภาพ – ดำเนินการบริหารน้ำอย่างรอบด้านอย่างต่อเนื่อง ประสานท้องถิ่น และบริษัทในเครือให้ดำเนินการจัดการ และนำน้ำมาใช้ในทุกโอกาสอย่างเหมาะสม รวมถึงดำเนินการบำบัดน้ำอย่างต่อเนื่องก่อนสู่อ่างแหล่งธรรมชาติ พร้อมติดตามการใช้น้ำ
/

ผลการดำเนินงาน 2567

ตารางนี้สามารถเลื่อนแนวนอนได้

ทรัพยากรน้ำ SPN SS SN UPT WINCHAI SEG TGC TTQN SSE TTTV รวม 2567
ปริมาณน้ำที่นำมาใช้ แบ่งตามประเภทแหล่งน้ำ (ลบ.ม.)
น้ำบนดิน (Surface Water) 0 0 0 255,963 0 0 0 0 0 0 255,963
น้ำบาดาล (Ground Water) 0 0 682 1 0 0 157 1,950 0 0 2,790
น้ำจากหน่วยงานประปา 704 2.03 0 58,201 232 0 0 0 0 520 59,660
ปริมาณน้ำที่ดึงจากทุกแหล่งรวม 704 684 0 314,165 232 0 157 1,950 0 520 318,412
อัตราการใช้น้ำเมื่อเทียบกับการผลิต (หน่วย: ลูกบาศก์เมตรต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง)
อัตราการใช้น้ำเมื่อเทียบกับการผลิต 0.01 0.09 0 4.202 0.002 0 0.006 0.03 0 0.003 0.472
สัดส่วนปริมาณน้ำใช้ที่ลดลงจากปีฐาน 2566 (%) 0.27% 27.95% 0 1.13% N/A 0 24.61% 10.80% 0 25.26% 13.60%
ปริมาณน้ำเสีย/น้ำทิ้ง (หน่วย : ลูกบาศก์เมตร)
ปริมาณน้ำเสีย/น้ำทิ้ง 0 0 0 0 185.6 0 125.6 1,560 0 416 2,101.60
สัดส่วนปริมาณน้ำเสียที่ลดลงจากปีฐาน 2566 (%) 0 0 0 0 N/A 0 17.16 12.52 0 32.29 0.3
ปริมาณน้ำที่รีไซเคิล (หน่วย : ลูกบาศก์เมตร)
ปริมาณน้ำที่รีไซเคิล 704 684 0 314,165 0 0 0 0 0 0 315,553
สัดส่วนปริมาณน้ำรีไซเคิลที่เพิ่มขึ้นจากปีฐาน 2566 (%) 100% 100% 0 100% 0 0 0 0 0 0 99.10%

แนวทางการบริหารจัดการ

กลุ่มบริษัทฯ ดำเนินมาตรการเชิงรุกที่เน้น การลดการใช้น้ำ เพิ่มการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้

ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตลง
10%
ภายในปี 2573
  • เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการที่ใช้น้ำมาก – ปรับปรุงการใช้ระบบหล่อเย็น การผลิตไอน้ำ และกระบวนการทำความสะอาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ใช้เทคโนโลยีอุปกรณ์ประหยัดน้ำ – เช่น โครงการนำน้ำทิ้งจากระบบกรองน้ำ (Reverse Osmosis: RO) มาใช้ระบบดักจับน้ำค้างรวม เพื่อนำไปเพิ่มมูลค่า และการใช้นวัตกรรมการบำบัดเคลือบแผ่นโซล่าร์เซลล์ เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำล้างแผงในโครงการโซล่าร์เซลล์
ส่งเสริมให้พนักงานร่วมรณรงค์ลดการใช้น้ำลง
30%
ภายในปี 2573
  • สร้างความตระหนักและเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำ – จัดอบรม รณรงค์ และให้แรงจูงใจ เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำอย่างมีความรับผิดชอบ
  • กำหนดเป้าหมายการลดการใช้น้ำ – กระตุ้นให้ทุกหน่วยงานช่วยกัน ลดการใช้น้ำที่ไม่จำเป็น
เพิ่มการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
100%
ภายในปี 2573
  • เก็บและนำน้ำจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ – น้ำจากถัง ระบบหล่อเย็น การผลิตไอน้ำ การทำความสะอาดถนนล้างฟลอร์กลับมาใช้ในกระบวนการอีก
  • ใช้ระบบหมุนเวียนรูปแบบปิด – ออกแบบระบบการใช้น้ำที่มีการหมุนเวียนในกระบวนการใช้น้ำ
บริหารจัดการน้ำและน้ำเสียจากทุกแหล่งอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายด้านปล่อยของเสีย – การบำบัดน้ำเสียให้ได้เกินไปในมาตรฐานระดับประเทศและสากล
  • พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการน้ำ – ประเมิน ความเสี่ยง บริหารน้ำดิบ น้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ และจัดทำกลยุทธ์รองรับความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

นโยบายการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร