30 มิถุนายน 2568

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน ลดขยะฝังกลบ นำขยะกลับมาแปรรูปเป็นพลังงานหมุนเวียน

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนคืออะไร

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน คือโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากการเผาขยะชุมชน ซึ่งเป็นการกำจัดขยะชุมชนไปด้วยในกระบวนการ พร้อมสร้างพลังงานทดแทน ซึ่งสามารถเป็นอีกหนึ่งในทางในการแก้ไขปัญหาพลังงานที่ยังยืน ด้วยพลังงานทดแทน และลดการพึ่งพาพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปเช่นพลังงานฟอสซิล พร้อมกับการสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งช่วยให้สามารถนำขยะชุมชนที่ต้องถูกกำจัดทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประโยชน์ของการมีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน

แก้ปัญหาขยะล้นเมือง

ขยะชุมชน เป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เมื่อในวันนี้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษระบุว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยสูงถึง 26.95 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาปริมาณขยะที่กำลังเติบโต และหากไม่มีวิธีการกำจัดขยะที่ถูกต้อง ปริมาณขยะเหล่านี้จะยิ่งส่งผลย้อนกลับมาทำลายสิ่งแวดล้อมและชุมชนต่อไปในระยะยาว โรงไฟฟ้าพลังงานขยะจึงเป็นอีกหนึ่งกรรมวิธีที่ช่วยกำจัดประมาณขยะที่เกิดขึ้นนี้ ด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้อง และมีมาตรฐาน แก้ปัญหามลภาวะที่เกิดขึ้นจากปริมาณขยะได้

ลด “ขยะฝังกลบ”

หนึ่งในกรรมวิธีในการกำจัดขยะ คือการเทหลุมฝังกลบ (Landfill) ซึ่งเป็นวิธีหลักในการกำจัดขยะเกือบทุกชนิด โดบบ่อฝังกลบจำเป็นจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานอย่างรัดกุมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสารปนเปื้อนและผลกระทบอื่นๆ แต่การกำจัดขยะด้วยการฝังกลบที่ไม่ได้มาตรฐานนั้นสามารถก่อให้เกิดการปนเปื้น และผลกระทบในระยะยาวต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการปนเปื้อนลงสู่ผิวดิน และปนเปื้อนสู่น้ำบาดาล จากการหมักหมม และทับถมของขยะใต้ผิวดิน โรงไฟฟ้าพลังงานขยะจึงเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ช่วยลดการกำจัดขยะในรูปแบบเดิม และนำขยะมาสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อนำมาสร้างคุณค่าต่อ พร้อมกับการลดผลกระทบที่อาจเกิดต่อสิ่งแวดล้อมจากการฝังกลับขยะ

สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

การจัดการขยะผ่านกระบวนการของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน ไม่เพียงแต่จะเป็นการกำจัดขยะที่เกิดขึ้น และมีปริมาณมากขึ้นทุกวัน แต่ยังเป็นการนำขยะกลับมาสร้างคุณค่าต่อในรูปแบบของเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานที่ต่อยอดคุณค่าให้กับขยะที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดเป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่นำขยะที่เกิดขึ้นมากลับมาผลิตเป็นพลังงานหมุนเวียนที่นำไปต่อยอดได้แก้ปัญหาล้น ลดขยะฝังกลบ ต่อยอดขยะสู่พลังงานหมุนเวียนที่สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานให้กับสังคม

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนของ เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนของ เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น ในประเทศไทย มีการออกแบบตามมาตรฐานวิศวกรรมเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการแปรรูปขยะเป็นกระแสไฟฟ้า โครงการได้ออกแบบให้จัดเก็บขยะภายในอาคารปิด และมีผนังปิดล้อมมิดชิด เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองและกลิ่นจากขยะออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยภายในอาคารกักเก็บขยะมีรูปแบบการหมุนเวียนอากาศในลักษณะ Negative Pressure และมีการออกแบบระบบบำบัดมลพิษทางอากาศเพื่อควบคุมการปล่อยอากาศที่เกิดจากการไหม้ของเตาเผาโครงการให้มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม อีกทั้งโครงการมีการการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ปล่อยน้ำทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม แต่นำน้ำทิ้งกลับไปใช้ประโยชน์ภายในโรงงาน 100% โดยเสริมสร้างพาวเวอร์ได้เริ่มต้นโครงการไปแล้วทั้งสิ้น 2 โครงการ ได้แก่

โครงการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนโดยแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา ของ บริษัท นครราชสีมา เวสท์ ทู เอ็นเนอร์จี จำกัด (NWE) มีกำลังการผลิตไฟฟ้าขนาด 9.9 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุนรวม 2,289.6 ล้านบาท โดย SSP จะเข้าลงทุนที่สัดส่วนไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่าการลงทุนรวมหรือคิดเป็นกำลังการผลิต และเงินลงทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 7.9 MWe และ 1,831.7 ล้านบาท ตามลำดับ คาดการณ์ว่าจะ เริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ภายในปี 2569

โครงการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนโดยแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า ของเทศบาลตำบลบ้านส้อง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ของ บริษัท ไบเซล เวสท์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (BWE) กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 MW มูลค่าการลงทุน รวม 2,283.4 ล้านบาท โดย SSP จะเข้าลงทุนที่สัดส่วน 51% ของมูลค่าการลงทุนรวมหรือคิดเป็นกำลังการผลิต และเงินลงทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นที่ 5.0 MWe และ 1,164.5 ล้านบาท ตามลำดับ คาดการณ์ว่าจะ เริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ภายในปี 2569