สิ่งแวดล้อม

โครงการโปรแกรมจัดการของเสียและมลพิษทางดินนำเถ้าชีวมวลมาใช้ประโยชน์ เพื่อลดของเสียที่ต้องนำไปฝังกลบ

จังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศไทย แต่เกษตรกรในพื้นที่ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านสภาพดินที่ ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก เนื่องจากดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วน ปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และมีสภาพเป็นกรดจัดถึง เป็นกลาง (pH 5.5-7.0) ในชั้นดินบน และเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในชั้นดินล่าง สภาพดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรและความยั่งยืนของระบบนิเวศ

บริษัท ยูนิ พาวเวอร์ เทค จํากัด (“บริษัทฯ”) ซึ่งดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ได้ตระหนัก ถึงปัญหาดังกล่าว และมีแนวคิดที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา โดยการนำเถ้าชีวมวล (Biomass Ash) ที่เกิดจากกระบวนการผลิตไฟฟ้ามาปรับปรุงสภาพความเป็นกรดของดิน เถ้าชีวมวลนี้ถือเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตที่สามารถนำ กลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ (Waste-to-Resource) ซึ่งสอดคล้องกับ หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการลด การสูญเสียทรัพยากรและการสร้างมูลค่าจากของเสีย

ก่อนดำเนินการกลุ่มบริษัทฯ ได้ศึกษาคุณภาพของเถ้าชีวมวลอย่างละเอียด และนําผลการทดสอบคุณสมบัติของเถ้าชีวมวลไปขอความเห็นชอบจากกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการ เกษตร กรมวิชาการเกษตร ผลการตรวจสอบพบว่าเก้าชีวมวล ของบริษัทฯ มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการปรับสภาพความ เป็นกรดของดิน โดยสามารถไถกลบลงไปในดินในช่วงเตรียม พื้นที่ปลูก ประมาณ 20-30 วัน ก่อนการเพาะปลูก ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ค่า pH ของดินและปรับปรุงโครงสร้างดินให้เหมาะสมต่อการเกษตรมากขึ้น บริษัทฯ จึงได้ริเริ่มโครงการแจกจ่ายเถ้าชีวมวลให้กับ เกษตรกรในพื้นที่โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยเกษตรกรสามารถนำรถ เข้ามารับเถ้าชีวมวลได้ที่โรงไฟฟ้าของบริษัทฯ โครงการนี้ไม่เพียง ช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร แต่ยังส่งเสริมการนำวัสดุ เหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ซึ่งเป็นการลดปริมาณของเสียและ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินการ

ในปี 2567 บริษัทฯ ได้ส่งเถ้าชีวมวลเพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพดินแล้ว รวมทั้งสิ้น 5,023 ตัน คิดเป็นอัตราการรีไซเคิล (Recycle Rate) สูงถึง 99.94% ของปริมาณวัสดุเหลือทิ้งทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าชีวมวลผลสําเร็จนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

มูลค่าทางการค้าในส่วนสารปรับปรุงดินโดยเฉลี่ยราคา กก. ละ 4.00 บาท ดังนั้นมูลค่าสารปรับปรุงคุณภาพดินด้วยเถ้าชีวมวล ทั้งหมดประมาณ 20,000 บาท/ ปี โครงการนี้ ลดของเสียที่ ไม่อันตรายนําไปฝังกลบได้ 100% ผ่านการนําของเสียกลับมาใช้ใหม่