สิ่งแวดล้อม

โครงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ "SSP GREEN HAVEN: Protecting Life, Preserving Nature"

ดำเนินการโดยบริษัทในเครืออย่าง บริษัท เสริมสร้าง พลังงาน จำกัด (SPN) ตั้งอยู่ที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรีโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อรับรองว่าโครงการพลังงานของกลุ่มบริษัทฯ สามารถ อยู่ร่วมกับระบบนิเวศได้อย่างสมดุล โดยมุ่งเน้นการปกป้องสัตว์ป่า อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และฟื้นฟูถิ่นอาศัยตาม ธรรมชาติเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนผ่าน กลยุทธ์: "POWERING a GREENER for BIODIVERSITY"

  1. การอนุรักษ์ถิ่นอาศัยและขยายพื้นที่สีเขียวคงไว้และขยาย เขตพื้นที่สีเขียวรอบโรงไฟฟ้า เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของนกและ สัตว์ป่า รวมทั้งสนับสนุนโครงการ ปลูกป่าและฟื้นฟูพืชพันธุ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ปกป้องและ ปรับปรุงถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ เพื่อลดผลกระทบจากการ พัฒนาโครงการ
  2. การปกป้องสัตว์พื้นถิ่น และติดตามความหลากหลายทางชีวภาพดำเนินการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ ก่อนและ ระหว่างการพัฒนาโครงการ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และจัดตั้งโครงการติดตามประชากรสัตว์ในพื้นที่ เช่น นกกระจาบ นกกาน้ำ และไก่ป่า รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสัตว์ป่า และดูแลให้พื้นที่รังนกและแหล่งขยายพันธุ์สัตว์ ไม่ถูกทำลาย
  3. การพัฒนาโครงการพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมปฏิบัติ ตามแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA & IEE) อย่างเข้มงวด รวมทั้งออกแบบโครงการให้สอดคล้องกับเส้นทางอพยพและแหล่งวางไข่ของสัตว์ป่า และใช้แนวทางการใช้ที่ดินอย่าง ยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่าและการเสื่อมโทรม ของดิน
  4. การทํางานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนและการสร้างความตระหนัก ระหนัก ด้านการอนุรักษ์เสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชนสนับสนุน โครงการอนุรักษ์ที่ดำเนินการร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างความ ตระหนักในด้านสิ่งแวดล้อม โครงการคุ้มครองสัตว์ป่า ไม่ล่าสัตว์ ในบริเวณอนุรักษ์ และกิจกรรมปลูกป่าในระดับชุมชน รวมทั้ง ส่งเสริมให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในโครงการ สีเขียว โดยจัดกิจกรรมอาสาสมัครปลูกต้นไม้ โครงการอนุรักษ์ สัตว์ป่า และการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินการ

เสริมสร้างพาวเวอร์ได้สร้างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ภายในและรอบ โรงไฟฟ้า ซึ่งช่วยสนับสนุนสัตว์ป่าท้องถิ่นและนกอพยพ ผ่านการ ขยายพื้นที่สีเขียว การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า และการ ประเมินผลกระทบเชิงนิเวศ กลุ่มบริษัทฯ แสดงให้เห็นถึงบทบาท ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีความรับผิดชอบ และให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ มุ่งมั่นด้านความยั่งยืนและความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถดำเนินไปพร้อมกับการพัฒนาพลังงานสะอาดได้อย่างสมดุล รายละเอียดผลการดำเนินการ ดังนี้

  1. การขยายพื้นที่สีเขียวรอบโรงไฟฟ้ากลุ่มบริษัทฯ สามารถรักษาและขยายพื้นที่สีเขียวรอบโรงไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของสัตว์ป่า พื้นที่ สีเขียวเหล่านี้กลายเป็นแหล่งพักพิงที่ปลอดภัยสำหรับนกอพยพ และสัตว์ท้องถิ่น ซึ่งช่วยส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ ในท้องถิ่น
  2. การปกป้องนกกระจาบธรรมดาและสัตว์ป่าอื่น ๆพบนกกระจาบธรรมดามากกว่า 200-300 ตัว อาศัยและทํารังรอบ พื้นที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์เชิงบวกของการอนุรักษ์ โดย อนุรักษ์รังเดิมของนกแม้หลังจากฤดูอพยพ เพื่อให้มั่นใจว่า ถิ่นอาศัยของพวกมันไม่ได้รับผลกระทบ รวมถึงนกสายพันธุ์ อื่น ๆ เช่น นกกาน้ำ (50-100 ตัว) และไก่ป่า (5-10 ตัว) ก็สามารถพบเห็นได้ในพื้นที่ แสดงให้เห็นถึงระบบนิเวศที่สมบูรณ์
  3. การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าเนื่องจากนกกระจาบธรรมดาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 จึงให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ ตามข้อกำหนดทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด กลุ่มบริษัทฯ ป้องกันการทําลายรังนก ห้ามรบกวน และรักษาถิ่นอาศัย ให้ปลอดภัย เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ เป็นไป ตามหลักจริยธรรมและกฎหมายด้านการอนุรักษ์
  4. การประเมินผลกระทบความหลากหลายทางชีวภาพในโครงการ ประเทศญี่ปุ่นกลุ่มบริษัทฯ ดำเนินการสำรวจระบบนิเวศก่อนการพัฒนาโครงการในญี่ปุ่น เพื่อประเมินชนิดและความหนาแน่น ของสิ่งมีชีวิตทุกไตรมาส หากพบสัตว์หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ กลุ่มบริษัทฯ จะดำเนินมาตรการ ย้ายถิ่นอาศัย หรือลดผลกระทบ ต่อสัตว์ป่า หากไม่สามารถย้ายสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ได้ กลุ่มบริษัทฯ จะไม่ดำาเนินโครงการในพื้นที่ดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความ รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
  5. ความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ระบบนิเวศและความหลากหลาย ทางชีวภาพในระยะยาวกลุ่มบริษัทฯ มีเป้าหมายในการรักษาและเพิ่มพื้นที่ป่ารอบโรงไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความหลากหลายทาง ระบบนิเวศและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า โดยติดตาม พฤติกรรมการอพยพและการขยายพันธุ์ของสัตว์ป่าในแต่ละ ฤดูกาล เพื่อปรับกลยุทธ์การอนุรักษ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีแผนงานในอนาคตรวมถึงการปลูกต้นไม้เพิ่มเติม การฟื้นฟูป่าและความร่วมมือกับชุมชนในการรณรงค์ด้าน สิ่งแวดล้อม